วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ระบบขับถ่าย(Excretory system)



https://sites.google.com/site/balloonchuleekorn1005/bth-thi-1-rabb-rangkay/1-1-rabb-ni-rangkay-mnusy-10-rabb


การขับถ่าย

เป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย  ไต  ตับ  และลำไส้  เป็นต้น
ไต  มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกายยู่ด้านหลังของช่องท้อง 
            ลำไส้ใหญ่  มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ 
โครงสร้างของระบบขับถ่าย 
            ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกายไตของคนมี  1  คู่อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอวมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะอนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง 
การดูแลรักษาระบบขับถ่าย
             เคี้ยวอาหารให้ละเอียดและรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายคือ  อาหารที่มีกากใย  เช่น  ผัก  ผลไม้  และควรดื่มน้ำให้มาก 
การกำจัดของเสียออกทางไต ต  เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว  มีขนาดประมาณ  10  กว้าง  6  เซนติเมตร  และหนาประมาณ  3  เซนติเมตร  มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆไตมี  2  ข้างซ้ายและขวาบริเวณด้านหลังของช่องท้องใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอวบริเวณส่วนที่เว้านกรวยไตมีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ 
             โครงสร้างไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ  2  ชั้น  หน่วยไตชั้นนอกเรียกว่า  คอร์ดเทกซ์  ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา  ภายในไตประกอบด้วยหน่วยไตมีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด 
ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักวันหนึ่งๆเลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไตประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่  1200  มิลลิลิตรหรือวันละ  180  ลิตรไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาแล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ  500  ลูกบาศก์เซนติเมตรร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ  250  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ใน  1  วันคนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1  –  1.5  ลิตร 



อ้างอิง..https://sites.google.com/site/systembody302/excretory_system

ระบบหมุนเวียนเลือด ( Circulatory System )




 1.1 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด  (Closed circulatory System)
               ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด ระบบนี้เลือดจะไหลเวียนอยู่ในท่อของหลอดเลือดตลอดเวลา มีหลอดเลือดฝอยเชื่อมระหว่างหลอดเลือดอาร์เทอร์รีและเวน  พบในแอนิลิด (ไส้เดือน ทากดูดเลือด) ปลาหมึก สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด (ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม)
 1.2 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (Open circulatory System)
               ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด ระบบนี้เลือดไหลออกจากหัวใจไปตามหลอดเลือด แล้วไหลออกจากหลอดเลือดผ่านช่องว่างระหว่างลำตัว และที่ว่างระหว่างอวัยวะต่างๆ เลือดและน้ำเหลืองจึงปนกันได้ เรียกว่า ฮีโมลิทพ์ (HaemolymphX ) และช่องว่างระหว่างเนื้อเยื่อที่เป็นทางผ่านของฮีโมลิทพ์  จะเรียกว่า  ฮีโมซีล (Heamocoel) ลักษณะเช่นนี้พบในสัตว์พวกอาร์โทรพอด (แมลง แมง กุ้ง กั้ง ปู ตะขาบ และกิ้งกือ) มอลลัสก์ (หอยต่างๆยกเว้นปลาหมึก) โพรโทคอร์เคต (เพรียงหัวหอม และแอมฟิออกซัส)
1. หัวใจ (Heart )
      หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่รับผิดชอบหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง หัวใจของมนุษย์จะอยู่บริเวณช่องอกค่อนไปทางซ้าย แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ด้านบน 2 ห้อง และด้านล่างอีก 2 ห้อง
      ทำหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความดันเลือดในหลอดเลือดแดง  เพื่อให้เลือดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทั่วถึง
2. หลอดเลือด (Artery)
หลอดเลือดแดง ( Artery ) หมายถึง หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ซึ่งจะเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเป็นเลือดที่มีสีแดงสด ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ( ยกเว้นหลอดเลือดที่ไปสู่ปอดชื่อ pulmonary artery ซึ่งจะนำเลือดดำจากหัวใจที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงไปฟอกที่ปอด ) 
3.  ความดันเลือด (Blood pressure)
ความดันเลือด ( blood pressure)หมายถึงความดันในหลอดเลือดแดงเป็นส่วนใหญ่เกิดจากบีบตัวของหัวใจ
ที่ดันเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดความดันของหลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดง
4.  เลือด (Blood)
เลือด (Blood) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของเหลว 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรียกว่า “ น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma)”และส่วนที่เป็นของแข็งมี 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด

ระบบหายใจ(Respiratory system)


https://sites.google.com/site/systembody302/excretory_system
https://sites.google.com/site/systembody302/excretory_system

ระบบหายใจ

มนุษย์ทุกคนต้อง หายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้

ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่น ละอองด้วย 

เป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกไทรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง

เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย

           4. หลอดลม (Trachea)
ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่างระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา   เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์

            5. ปอด (Lung)
ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลมระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน  หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ

         6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด
           จากความรู้ในระบบหมุนเวียนเลือด  นอกจากเลือดจะลำเลียงอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว 
ภายในเลือดยังมีแก๊สสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ แก๊สออกซิเจน(O2) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) อยู่ด้วย

https://sites.google.com/site/systembody302/excretory_system
  

ระบบขับถ่าย(Excretory system)

https://sites.google.com/site/balloonchuleekorn1005/bth-thi-1-rabb-rangkay/1-1-rabb-ni-rangkay-mnusy-10-rabb การขับถ่าย เป็นระบ...